สำหรับฟันหน้า จะคำนึงถึงความสวยงามเป็นหลัก เพราะเป็นฟันที่อยู่ด้านหน้า ไม่ว่าจะยิ้ม หรือพูด หรืออ้าปาก ฟันหน้าจะเห็นได้ชัด ดังนั้นวัสดุสำหรับครอบฟันหน้าควรเป็นวัสดุที่ให้สีเหมือน หรือใกล้เคียงกับสีของฟันธรรมชาติ ให้ความสวยงาม และความมั่นใจ เช่นวัสดุที่เป็นเซรามิค หรือวัสดุที่มีทองเป็นส่วนผสม
สำหรับฟันด้านใน เช่นฟันกราม ที่มีหน้าที่หลัก คือใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร ต้องใช้แรง และต้องมีความแข็งแรงทนทานสูง ดังนั้นวัสดุที่เลือกใช้สำหรับฟันกราม หรือ ฟันด้านในไม่ได้เห็นเด่นชัดเหมือนฟันหน้าดังนั้นการเลือกวัสดุ ให้เน้นความแข็งแรง ทนทานเป็นหลัก เช่น วัสดุที่เป็นโลหะ หรือโลหะเป็นส่วนผสม
การทำครอบฟันนั้น วัสดุส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาการใช้งานได้ถึง 5 ปีหรือนานกว่านั้นแล้วแต่การใช้งานของแต่ละเคส  ยกเว้นกรณีที่เป็นการทำครอบฟันชั่วคราว ที่วัสดุจะไม่ได้มีความคงทนเนื่องจากเป็นครอบฟันที่ถูกทำขึ้นเพื่อให้ทดแทนเพียงชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น

ครอบฟัน

ครอบฟัน คือการรักษาฟันเดิมตามธรรมชาติที่ได้รับการเสียหาย อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น ฟันที่ผุจนกินเนื้อฟันเยอะ และไม่สามารถรักษาโดยการอุดฟันได้ ฟันหัก ฟันแตก ฟันร้าว ฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน สีฟันหรือรูปร่างฟันไม่สวยงามเหมือนกับฟันรอบข้าง การทำครอบฟันจึงเป็นการทำให้ฟันซี่นั้นๆกลับมาแข็งแรง สามารถใช้งานในการบดเคี้ยวอาหารได้เหมือนเดิม และมีความสวยงามอีกครั้ง โดยการทำครอบฟันที่มีสีเหมือนหรือใกล้เคียงกับสีฟันเพื่อครอบหรือคลุมฟันที่ได้รับความเสียหายนั้นๆทั้งซี่ การทำครอบฟันจะทำได้ทั้งฟันหน้า และฟันที่อยู่ด้านใน เช่นฟันกราม เป็นต้น
ดังนั้นการเลือกวัสดุที่เหมาะสมในการทำครอบฟันหน้า หรือฟันหลังที่อยู่ด้านในจึงมีความสำคัญ
ขั้นตอนการทำครอบฟัน
การทำครอบฟันจะต้องใช้เวลาในการมาพบทันตแพทย์ 2-3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะมีแนวทางการรักษา และรายละเอียดดังนี้
ในนัดครั้งแรก
สำหรับการทำครอบฟัน ทันตแพทย์เฉพาะทางครอบฟัน (หรือที่เรียกกันชื่อเป็นทางการว่า ทันตแพทย์ทันตประดิษฐ์) จะทำการตรวจช่องปาก เช็คสุขภาพเหงือก และฟันซี่ที่ต้องมีการทำครอบฟัน รวมถึงพูดคุย สอบถามถึงลักษณะการใช้งานในชีวิตประจำวัน และอาจมีการเอ็กซเรย์ร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อประเมินและแนะนำวัสดุที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งของฟัน และความต้องการของคนไข้ในแต่ละเคส เพื่อให้งานครอบฟันมีประสิทธิภาพ เกิดความความพึงพอใจกับคนไข้
นอกจากนี้ทันตแพทย์จะมีการกรอฟัน และพิมพ์ฟัน เพื่อที่จะส่งแม่พิมพ์ของแต่ละเคส ไปที่ห้องแลปเพื่อให้ช่างทันตกรรมผู้เชี่ยวชาญทำตัวครอบฟัน ตามรูปแบบที่พิมพ์ และวัสดุที่เลือก รวมถึงสีของวัสดุที่ทันตแพทย์จะปรึกษาร่วมกับคนไข้เพื่อเลือกสีฟันที่ใกล้เคียงกับสีฟันธรรมชาติของแต่ละเคส ซึ่งขั้นตอนการทำครอบฟันที่ห้องแลปจะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน
นัดครั้งที่สอง
ส่วนใหญ่จะเป็น 1 สัปดาห์หลังจากการนัดครั้งแรก (หรือหลังการพิมพ์ฟัน) ทันตแพทย์จะนัดเข้ามาเพื่อลองใส่ครอบฟัน โดยทันตแพทย์อาจมีการกรอครอบฟัน เพื่อตบแต่งให้ครอบฟันที่ถูกจัดทำขึ้นนั้นสามรถใส่ครอบฟันซี่นั้นๆได้อย่างพอดี หลังจากใส่ครอบฟันแล้วทันตแพทย์จะตรวจเช็คการสบฟันบริเวณฟันที่ใส่ครอบฟัน เพื่อให้มั่นใจว่ามีการสบฟันที่ดี ที่เหมาะสม รวมถึงการเช็คบริเวณขอบตัวครอบฟัน และผิวเคลือบฟัน และรอยต่อต่างๆของครอบฟันเพื่อเก็บงานให้เรียบร้อย และใช้กาวยึดครอบทางทันตกรรมเพื่อทำการยึดครอบฟันให้มีความแข็งแรง
นัดครั้งที่สาม
จะเป็นการนัดเพื่อติดตามการรักษา โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจเช็คครอบฟัน พูดคุยสอบถามคนไข้ หลังจากการทำครอบฟันที่ทางคนไข้ได้กลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ใช้ฟันที่ทำครอบในการใช้งานว่าเป็นไปตามปกติหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าครอบฟันที่ทำไปแล้วนั้นเรียบร้อยดี และไม่มีปัญหาใดๆ คนไข้ใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งถ้าหลังจากการใส่ครอบในนัดครั้งที่ 2  เรียบร้อยดี นัดครั้งที่ 3 อาจจะไม่จำเป็น ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกของคนไข้ในแต่ละเคส
ก่อนการทำครอบฟัน ทันตแพทย์จะแนะนำวัสดุครอบฟัน และแนวทางการรักษา รวมถึงข้อดี ข้อเสียของวัสดุทำครอบฟันที่เหมาะสมกับตำแหน่งของฟัน และตามความต้องการในแต่ละเคส
โดยหลักๆ วัสดุครอบฟันที่นิยมจะมี ดังนี้
  • ครอบฟันโลหะ จะมี 2 แบบด้วยกัน คือ
1) ครอบฟันโลหะล้วน (Full Metal Crown): หลักๆคือจะเป็นโลหะเป็นหลักผสมด้วยสแตนเลส โคบอลต์โครเมียม หรือนิกเกิลโครเมียม ซึ่งจะให้ความแข็งแรง มีความทนทานสูง ทนต่อแรงบดเคี้ยวอาหารได้ดี มีคุณสมบัติในการต้านสนิม แต่ไม่ให้ความสวยงามเนื่องด้วยสีวัสดุชนิดนี้จะให้สีเป็นสีเงิน (สีโลหะ) มีความวาวของโลหะคล้ายกับสีของสเตนเลส ไม่ให้สีเหมือนฟันธรรมชาติ จึงเหมาะกับการเป็นวัสดุที่เลือกใช้สำหรับฟันกรามที่อยู่ด้านในที่มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร แต่เวลาพูดหรือยิ้มนั้นจะไม่เห็นเพราะเป็นฟันที่อยู่ด้านใน ราคาสำหรับวัสดุชนิดนี้จะมีราคาไม่สูง
2) ครอบฟันโลหะผสมที่มีทองเป็นส่วนผสม (Full Metal Crown):  วัสดุนี้จะให้ความแข็งแรง ทนทานมาก โดยจะสามารถแบ่งแยกย่อยได้เป็นอีกหลายชนิดขึ้นอยู่กับสัดส่วนของทองที่ผสม เช่น
      • Palladium base metal ที่ผสมทองในปริมาณ 2%แต่มี Palladium เป็นวัสดุ
      • Semi-precious Metal ทีมีทองผสมปริมาณ 50% ซึ่งจะไปผสมกับส่วนผสมของโลหะเงิน และทองคำขาว
      • High precious Metal ที่มีปริมาณทองผสมที่ 85%ทั้งนี้ข้อสังเกตของการมีทองคำเป็นส่วนผสม คือยิ่งมีปริมาณของทองผสมมากก็จะให้สีที่เหมือนฟันธรรมชาติจริงๆได้มากขึ้นตาม ไปด้วย ซึ่งวัสดุชนิดนี้สามารถเลือกใช้ได้สำหรับฟันหน้า และฟันหลัง เนื่องจากให้ทั้งความทนทานและความสวยงามจาก ส่วนผสมของทองที่จะให้สีใกล้เคียงฟันธรรมชาติ แต่ราคาจะค่อนข้างสูง
      • ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิค (Porcelain-Fused-to-Metal-Crown) วัสดุชนิดนี้คือการนำโลหะมาทำเป็นโครงด้านในเพื่อสร้างความแข็งแรง และใช้เซรามิคคลือบด้านนอกเพื่อให้ความสวยงาม โดยให้มีสีที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ทั้งนี้ครอบฟันที่มีโครงเป็นโลหะที่มีส่วนผสมของทองผสมอยู่จำนวนน้อย หรือมาก จะส่งผลต่อสีของครอบฟัน โดยถ้าส่วนผสมของปริมาณทองมีมาก สีของตัวครอบฟันด้านนอกจะมีสีใกล้เคียงกับสีฟันธรรมชาติมากขึ้น วัสดุโลหะเคลือบเซรามิคนี้เหมาะสำหรับเป็นตัวเลือกในการทำครอบฟันกรามหลัง ที่ให้ทั้งความแข็งแรง ทนทาน และความสวยงาม
3)  ครอบฟันเซรามิคล้วน (All Ceramic): วัสดุประเภทนี้จะให้ความสวยงาม มีสีและความวาวเสมือนกับฟันจริงตามธรรมชาติ จึงเป็นที่นิยม และเหมาะกับผู้ที่ต้องการให้งานครอบฟันเหมือนกับฟันธรรมชาติจริงๆ อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานนาน คงทน  แต่ทั้งนี้วัสดุชนิดนี้ก็มีความเปราะบาง และอาจเกิดการแตกได้ถ้าเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งมากๆ ดังนั้นทันตแพทย์จะแนะนำให้เลือกใช้วัสดุนี้กับงานครอบฟันหน้า โดยเหตุผลเรื่องความสวยงามเป็นหลัก แต่วัสดุเซรามิคล้วนนี้จะไม่เหมาะกับการบดเคี้ยว (เช่น ฟันกราม) เพราะอาจมีการกระทบกระแทกระหว่างการบดเคี้ยวมำให้แจกได้ง่าย และสำหรับในด้านราคาตัววัสดุเซรามิคนี้จะมีราคาสูง
      • ครอบฟันเซอร์โคเนีย (Zirconia): คือ การครอบฟันด้วยเซรามิคล้วน โดยการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบขึ้นรูป ให้ความแข็งแรง ทนทานและมีความสวยงาม